แนะนำวิธีเรียนเก่ง
การเรียนเก่งในที่นี้ หมายถึงเรียนเก่งกว่าเดิม กล่าวคือเมื่อนักเรียนได้รับรู้วิธีการที่จะทำให้เรียนเก่งขึ้น และปฎิบัติได้ตลอดไปนักเรียนผู้นั้นก็จะเข้าใจในบทเรียน และสอบได้คะแนนดีขึ้น การที่จะเรียนเก่งขึ้นได้นั้นต้องฝึกตนเองให้สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้คือ 1. การแบ่งเวลา
2. การทำการบ้าน
3. วิธีทบทวนบทเรียน
4 . ห้องสมุดกับการเรียนเก่ง
5. การดูหนังสือเตรียมสอบ
6. การพัฒนาความจำเพื่อให้เรียนเก่ง
หากนักเรียนคนใดสามารถปฎิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ ทั้ง 6 ข้อนี้ จะต้องมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน© ตัวอย่างการแบ่งเวลา การทำกิจกรรมประจำวันของนักเรียน
เวลา
กิจกรรม
6.00 - 6.30 ตื่นนอน, ช่วยงานบ้าน
6.30 - 7.00 กิจประจำวัน ( อาบน้ำ, แปรงฟัน,รับประทานอาหาร,แต่งตัว )
7.00 - 8.30 เดินทางไปโรงเรียน ,อ่านหนังสือพิมพ์,สังสรรค์ในหมู่เพื่อน, ถ้ามีเวลาเหลืออ่าน บทเรียนที่จะเรียนใน ชั่วโมงแรก
8.30 - 11.30 เรียน
11.30 -12.30 รับประทานอาหาร (ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง) เวลาที่เหลือทบทวนบทเรียน โดยวิธีถาม - ตอบด้วยปากเปล่า โดยกระทำ เป็นกลุ่มๆละประมาณ5 - 6 คนแล้วกำหนดผู้ถามโดยให้ผู้ถามไปเตรียมคำถามจากบทเรียนวิชา ต่างๆสลับกันไปควรมีคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย เพื่อให้สนุกควรมีการให้คะแนน ผู้ที่ได้คะแนน น้อยที่สุด อาจจะต้องเป็นผู้ไปรวบรวมคำถามในวันต่อไปก็ได้ (ทำให้สม่ำเสมอกันตลอดทั้งปี)
12.30 - 15.30 เรียน
15.30 - 17.00 เดินทางกลับบ้าน,หากใช้เวลาน้อยกว่านี้ เวลาที่เหลือบางวันเช่นวันศุกร์ ควรเล่นกีฬาหนักประมาณ 15 - 30 นาที กีฬาที่ควรเล่นเช่น ฟุตบอล,บาสเก็ตบอล,ตะกร้อ,เนตบอลวอลเลย์บอล ปิงปอง,ห่วงยาง ฯลฯ เพื่อเป็นการ ออกกำลังกายหนัก แต่ไม่ควรเล่นมากหรือบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้สมองล้ากลับถึงบ้านไม่อยากทบทวน บทเรียน
17.00 - 17.30 ช่วยงานบ้าน
17.30 - 18.30 กิจประจำวัน อาบน้ำ,รับประทานอาหาร
18.30 - 19.30 ทำการบ้าน ดูข่าวสาร เหตุการณ์บ้านเมืองประจำวัน
19.30 - 21.00 อ่านทบทวนบทเรียน,โน้ตย่อบทเรียน
21.00 - 06.00 นอนหลับพักผ่อน
นักเรียนสามารถปรับตารางเวลาและกิจกรรมให้เข้ากับชีวิตประจำวันที่ทำอยู่ ถ้าต้องการให้ประสบผลสำเร็จควรทำสม่ำเสมอ
© การทำการบ้าน
การทำการบ้านนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของการเรียนเพราะถือเป็นการทบทวนบทเรียนที่มีระยะเวลาค้นคว้าทำความเข้าใจกว่าเวลาในห้องเรียน มีหลักที่ควรยึดดังนี้
1. จัดเวลาทำการบ้าน ควรจะเป็นระยะเวลา 18.00 - 21.00 น.กับครึ่งวันเช้าหรือบ่ายของวันหยุด ควรทำอย่างสม่ำเสมอจนติดเป็นนิสัย ถ้าวันใดไม่มีการบ้าน ต้องทบทวนบทเรียนแทน
2. ตรวจดูความยากง่าย เมื่อได้รับคำสั่งจากครู อาจารย์ให้ทำการบ้าน แบบฝึกหัดใดหรือบทใด ตรวจดูอย่างคร่าวๆว่าพอทำได้หรือไม่ หากมีที่สงสัยควรถาม ครู,อาจารย์ก่อน
3. รีบทำการบ้านอย่าทิ้งไว้นาน เมื่อได้รับการบ้านวันใดให้รีบทำให้เสร็จในวันนั้น ถึงแม้กำหนดส่งการบ้านจะเหลืออีกหลายวันยกเว้นจะได้รับการบ้านหลายวิชา จึงค่อยทำวิชาที่ต้องส่งก่อนเป็นอันดับแรก หากทำการบ้านตามเวลาที่กำหนดไว้ไม่ทันต้องทำในเวลาทบทวนบทเรียน
4. ตรวจดูความถูกต้องก่อนส่งครู
© การทบทวนบทเรียน
การทบทวนบทเรียนนับเป็นกระบวนการที่สำคัญมากต่อการเรียนเพราะเป็นการเสริมความเข้าใจ และช่วยจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นควรทำดังนี้
1.จัดเวลา ควรต่อจากการทำการบ้าน และพักกลางวันหลังจากรับประทานอาหารแล้ว หรือเวลาอื่นๆ เช่นก่อนครูเข้าสอน ,ชั่วโมงว่าง
2. โน้ตย่อใจความสำคัญของบทเรียน การโน้ตย่อนอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับดูก่อนสอบแล้วยังเป็นการทบทวนไปในตัวด้วย เพราะการจะย่อใจความสำคัญ ได้ต้องอ่านและต้องเขียนด้วยซึ่งทำให้จำได้แม่นยำกว่า การอ่านอย่างเดียว
3. สำหรับวิชาคำนวณ ควรย่อเฉพาะ กฎ,ทฎษฎี ,นิยาม สูตร และหมั่นทำแบบฝึกหัดที่เรียนไปแล้วเป็นการทบทวนสูตรไปด้วย
4. อ่านโน้ตย่อทุกเวลาที่ว่างพอจะอ่านได้ เช่นเวลาเช้าเมื่อมาถึงโรงเรียนแล้วยังไม่ถึงเวลาเรียน เวลาพักกลางวัน
© ชั่วโมงว่าง
ห้องสมุดกับการเรียนเก่ง
ห้องสมุดนับเป็นแหล่งการความรู้ที่ใกล้ตัวนักเรียนที่สุด ตำรามากที่สุดเท่าที่นักเรียนจะหาอ่านได้ และข้อสำคัญไม่ต้องเสียเงิน และที่สำคัญเป็นการฝึกการใช้ ห้องสมุด ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้มากในระดับการเรียนที่สูงขึ้น
1. นักเรียนจะอ่านอะไรในห้องสมุด การเข้าห้องสมุดทุกครั้งนักเรียนควรมีเป้าหมายว่าจะเข้าไปทำไมหรือไปอ่านหนังสืออะไร เช่น
- ค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำงานส่งครู - อาจารย์
- หาความรู้เพิ่มเติมจากบทเรียน
- อ่านข่าวความรู้จากหนังสือพิมพ์
- เลือกอ่านหนังสือที่ให้เพลิดเพลินเพื่อยืมไปอ่านที่บ้าน
2. อ่านหนังสือห้องสมุดอย่างไรได้ประโยชน์ที่สุด
2.1 กรณีค้นคว้าทำรายงานส่งครู - อาจารย์ ควรทำในห้องสมุด ไม่ควรยืมหนังสือไปทำบ้านเพราะอาจยืมหนังสือไปไม่ครบ ถ้าทำในห้องสมุดสงสัยเรื่องใด ค้นคว้าได้ทันที
2.2 การอ่านเพื่อความรู้ประกอบบทเรียน ควรมีการจดหรือย่อลงสมุดพก ซึ่งนักเรียนควรมี เป็นเล่มเล็กๆติดตัว
2.3 การอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน เพราะจะได้แง่คิดข้อเท็จริงเปรียบเทียบได้
3. การอ่านหนังสืออ่านเล่นมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไรในที่นี้หมายถึง นวนิยาย, เรื่องสั้น,สาระบันเทิง,ขำขัน
การอ่านเรื่องอ่านเล่นนี้นอกจากจะเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ที่เคร่งเครียดกับการเรียนและเป็นการให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงาน ในอนาคต เพราะการได้อ่านมากถึงแม้จะเป็นเรื่องอ่านเล่นก็ตาม จะทำให้นักเรียนอ่านหนังสือคล่อง ได้เห็นแบบสำนวนมากทำให้ง่ายต่อการเขียนรายงาน จดหมายโต้ตอบ บันทึกต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องประสบในขณะที่เข้าทำงาน
4. ฝึกนิสัยรักการอ่านได้อย่างไร นักเรียนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ พูดอีกอย่างว่าไม่มีนิสัยรักการอ่าน แต่นักเรียนก็รู้ว่าการอ่านมีประโยชน์ เมื่อเป็นดังนี้เรามาฝึกการอ่านกันดีกว่า ขอแนะนำดังนี้
4.1 ขั้นแรกอ่านข่าวที่น่าสนใจ ถ้าไม่ชอบการอ่านเอามากๆก็อ่านแค่พาดหัวข่าวก็ได้
4.2 ดูภาพที่สนใจ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีคำบรรยายประกอบ ซึ่งต้องอ่านประกอบความเข้าใจ
4.3 อ่านเรื่องราวที่ชอบ เช่น เกี่ยวกับฟุตบอล,มวย,เย็บปักถักร้อย
4.4 ทดลองอ่านนิทาน ,เรื่องสั้น,ที่ดีดีโดยอาจขอคำแนะนำจากบรรณารักษ์
ถ้าปฎิบัติได้ตามข้างต้นอย่างน้อยก็ต้องพบเรื่องที่ชอบบ้าง และจะค่อยทำให้รักการอ่านภายหลัง แต่ถ้ายังไม่เกิดผลอะไรเลย ก็คงต้องหาวิธีอื่นต่อไป, หรืออาจเกี่ยวกับเรื่องวัย,ภาวะของครอบครัวฯ
สู้ๆ เพื่อการเรียน ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ