วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซียน

ความเป็นมา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

จุดประสงค์ของการจัดตั้ง
   ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  
          และองค์การระหว่างประเทศ

ประเทศสมาชิก
1. บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลวา ดินแดนแหงความสงบ     สุข)  
ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอรเนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเสนศูนยสูตร) 
           แบงเปนสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara  เขต Belait  เขต Temburong  และเขต Tutong 
พื้นที่: 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่รอยละ 70 เปนปาไมเขตรอน
เมืองหลวง : บันดารเสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

2. กัมพูชา (Cambodia) 
     ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) 
ที่ตั้ง : กัมพูชาตั้งอยูกลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีพรมแดนทิศเหนือติดกับประเทศไทย (จังหวัด
อุบลราชธานีศรีสะเกษ สุรินทรและบุรีรัมย) และลาว (แขวง อัตตะปอและจําปาสัก) ทิศตะวันออกติด
2เวียดนาม (จังหวัดกอนทูม เปลกูซาลาย ดั๊กลั๊ก สองแบเตยนิน ลองอาน ดงทาบ อันซาง และเกียงซาง) 
ทิศตะวันตกติดประเทศไทย (จังหวัดสระแกว จันทบุรีและตราด) และทิศใตติดอาวไทย
พื้นที่: ขนาดกวาง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 181,035 ตารางกิโลเมตร    หรือมีขนาด
ประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย เสนเขตแดนโดยรอบประเทศยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร โดยมี
เสนเขตแดนติดตอกับประเทศไทยยาว 798 กิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) 

3. อินโดนีเซีย (Indonesia) 
     ชื่อทางการ : สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 
ที่ตั้ง : อยูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต  โดยตั้งอยูบนเสนทางเชื่อมตอระหวางมหาสมุทรแปซิฟกกับ
มหาสมุทรอินเดีย และเปนสะพานเชื่อมระหวางทวีปเอเชียกับออสเตรเลีย ทําใหอินโดนีเซียสามารถ
ควบคุมเสนทางการติดตอระหวางมหาสมุทรทั้งสอง ผานชองแคบที่สําคัญตางๆ เชน ชองแคบมะละกา
ชองแคบซุนดา และชองแคบล็อมบอก ซึ่งเปนเสนทางขนสงน้ํามันจากตะวันออกกลางมายังประเทศใน
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใตและเอเชียตะวันออก
พื้นที่: 1,890,754 ตารางกิโลเมตร  เปนประเทศหมูเกาะที่มีขนาดใหญที่สุดในโลก ประกอบดวยเกาะใหญนอย
    กวา 17,508 เกาะ รวมอยูในพื้นที่ 4 สวน คือ
- หมูเกาะซุนดาใหญประกอบดวย เกาะชวา สุมาตรา บอรเนียว และสุลาเวสี
- หมูเกาะซุนดานอย ประกอบดวยเกาะเล็ก ๆ ที่ตั้งอยูทางตะวันออกของเกาะชวา มีเกาะบาหลีลอมบอก
ซุมบาวา ซุมบา ฟอลเรส และติมอร
- หมูเกาะมาลุกุหรือ หมูเกาะเครื่องเทศ ตั้งอยูระหวางสุลาเวสีกับอิเรียนจายาบนเกาะ นิวกีนี
- อีเรียนจายา อยูทางทิศตะวันตกของปาปวนิวกินี
เมืองหลวง : จาการตา (Jakarta)

4. ลาว (Laos) 
     ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic) 
ที่ตั้ง : เปนประเทศที่ไมมีทางออกสูทะเล  มีพรมแดนติดจีนและพมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดตอกับ
เวียดนามทางทิศตะวันออก  ติดตอกับกัมพูชาทางทิศใต  และติดตอกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
พื้นที่: 236,800 ตารางกิโลเมตร (ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) 
    แบงเปน 16 แขวง และ 1 เขตปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน)
เมืองหลวง : นครเวียงจันทน (Vientiane) (เปนเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. สวนแขวงเวียงจันทนเปนอีกแขวง
หนึ่งที่อยูติดกับนครหลวงเวียงจันทน)

5. มาเลเซีย (Malaysia) 
     ชื่อทางการ : มาเลเซีย (Malaysia) 
ที่ตั้ง : ตั้งอยูในเขตเสนศูนยสูตร  ประกอบดวยดินแดนสองสวน  โดยมีทะเลจีนใตกั้น
- สวนแรก คือ มาเลเซียตะวันตก  ตั้งอยูบนคาบสมุทรมลายู  มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศ
ใตติดกับสิงคโปร  ประกอบดวย 11 รัฐ  คือ  ปะหัง สลังงอรเนกรีเซมบิลัน มะละกา ยะโฮร  เประ กลัน
ตัน ตรังกานูปนัง   เกดะหและปะลิส
- สวนที่สอง คือ มาเลเซียตะวันออก ตั้งอยูทางเหนือของเกาะบอรเนียว (กาลิมันตัน)  มีพรมแดนทิศใตติด
อินโดนีเซีย และมีพรมแดนลอมรอบประเทศบรูไน  ประกอบดวย 2 รัฐ คือ ซาบาหและซาราวัก
- นอกจากนี้ยังมีเขตการปกครองภายใตสหพันธรัฐอีก 3 เขต  คือ  กรุงกัวลาลัมเปอร (เมืองหลวง)       
เมืองปุตราจายา (เมืองราชการ) และเกาะลาบวน
พื้นที่: 330,257 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร (Kuala Lumpur)

6. พมา (Myanmar) 
ชื่อทางการ : สหภาพพมา (Union of Myanmar)
ที่ตั้ง : ตั้งอยูที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ  ภูมิประเทศตั้งอยูตามแนวอาวเบงกอล
และทะเลอันดามันทําใหมีชายฝงทะเลยาวถึง 2,000 ไมล
- ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบตและจีน
- ทางตะวันออกติดกับลาว
- ทางตะวันออกเฉียงใตติดกับไทย  
- ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย
- ทางตะวันตกเฉียงใตและทางใตติดกับทะเลอันดามันและอาวเบงกอล
พื้นที่: 676,577 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เทาของไทย) 
เมืองหลวง : เนปดอ (Naypyidaw) (ภาษาพมา) หรือบางครั้งสะกดเปน เนปตอ (Nay Pyi Taw) (มีความหมายวา
มหาราชธานี)  เปนเมืองหลวงและเมืองศูนยกลางการบริหารของสหภาพพมาที่ไดยายมาจากยางกุง

7. ฟลิปปนส (Philippines) 
     ชื่อทางการ : สาธารณรัฐฟลิปปนส (Republic of the Philippines) 
ที่ตั้ง : เปนประเทศหมูเกาะที่ประกอบดวยเกาะจํานวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ  ตั้งอยูในมหาสมุทรแปซิฟก  หางจาก
เอเชียแผนดินใหญทางตะวันออกเฉียงใต  ประมาณ 100 กม.  และมีลักษณะพิเศษ คือ เปนประเทศเพียง
หนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดตอระหวางกันยาวมากที่สุดในโลก
- ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต
- ทิศตะวันออกและทิศใตติดกับมหาสมุทรแปซิฟก
- อยูหางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร   
พื้นที่: 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย)    
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila)

8. สิงคโปร (Singapore) 
     ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสิงคโปร (Republic of Singapore) 
11ที่ตั้ง : เปนนครรัฐ ที่ตั้งอยูบนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต  ที่ละติจูด 1°17'35" เหนือ ลองจิจูด 103°51'20" 
ตะวันออก  ตั้งอยูทางใตสุดของคาบสมุทรมาเลย อยูทางใตของรัฐยะโฮรของประเทศมาเลเซีย  และอยู
ทางเหนือของเกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซีย
พื้นที่: ประกอบดวยเกาะสิงคโปรและเกาะใหญนอยบริเวณใกลเคียง 63 เกาะ มีพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 697 ตาราง
กิโลเมตร (ประมาณเกาะภูเก็ต)  เกาะสิงคโปรเปนเกาะที่มีขนาดใหญที่สุดมีความยาวจากทิศตะวันตก
ไปตะวันออกประมาณ 42 กิโลเมตร  และความกวางจากทิศเหนือไปยังทิศใตประมาณ 23 กิโลเมตร
เมืองหลวง : สิงคโปร

9. ประเทศไทย (Thailand) 
     ชื่อทางการ : ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) 
ที่ตั้ง : ตั้งอยูบนคาบสมุทรอินโดจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดประเทศลาว
และประเทศกัมพูชา ทิศใตติดอาวไทยและประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศ
พมา และทิศเหนือติดกับประเทศพมาและประเทศลาว โดยมีแมน้ําโขงกั้นเปนบางชวง
พื้นที่: 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร (Bangkok)

10. เวียดนาม (Vietnam) 
     ชื่อทางการ : สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Socialist Republic of Vietnam) 
ที่ตั้ง : เปนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และ
ประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอาวตังเกี๋ย ทะเลจีนใตทางทิศตะวันออก
พื้นที่: 331,689 ตารางกิโลเมตร (0.645 เทาของประเทศไทย) 
1415
เมืองหลวง : กรุงฮานอย (Hanoi)











วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิธีการเรียนเก่ง

   แนะนำวิธีเรียนเก่ง
        การเรียนเก่งในที่นี้ หมายถึงเรียนเก่งกว่าเดิม กล่าวคือเมื่อนักเรียนได้รับรู้วิธีการที่จะทำให้เรียนเก่งขึ้น และปฎิบัติได้ตลอดไปนักเรียนผู้นั้นก็จะเข้าใจในบทเรียน และสอบได้คะแนนดีขึ้น การที่จะเรียนเก่งขึ้นได้นั้นต้องฝึกตนเองให้สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้คือ 
   1. การแบ่งเวลา 
   2. การทำการบ้าน
   3. วิธีทบทวนบทเรียน 
   4 . ห้องสมุดกับการเรียนเก่ง
   5. การดูหนังสือเตรียมสอบ 
   6. การพัฒนาความจำเพื่อให้เรียนเก่ง
หากนักเรียนคนใดสามารถปฎิบัติได้ตามหลักเกณฑ์ ทั้ง 6 ข้อนี้ จะต้องมีผลการเรียนที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
© ตัวอย่างการแบ่งเวลา การทำกิจกรรมประจำวันของนักเรียน
เวลา
กิจกรรม
   6.00 - 6.30 ตื่นนอน, ช่วยงานบ้าน
   6.30 - 7.00 กิจประจำวัน ( อาบน้ำ, แปรงฟัน,รับประทานอาหาร,แต่งตัว )
   7.00 - 8.30 เดินทางไปโรงเรียน ,อ่านหนังสือพิมพ์,สังสรรค์ในหมู่เพื่อน, ถ้ามีเวลาเหลืออ่าน บทเรียนที่จะเรียนใน ชั่วโมงแรก
   8.30 - 11.30 เรียน
   11.30 -12.30 รับประทานอาหาร (ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง) เวลาที่เหลือทบทวนบทเรียน โดยวิธีถาม - ตอบด้วยปากเปล่า โดยกระทำ เป็นกลุ่มๆละประมาณ5 - 6 คนแล้วกำหนดผู้ถามโดยให้ผู้ถามไปเตรียมคำถามจากบทเรียนวิชา ต่างๆสลับกันไปควรมีคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย เพื่อให้สนุกควรมีการให้คะแนน ผู้ที่ได้คะแนน น้อยที่สุด อาจจะต้องเป็นผู้ไปรวบรวมคำถามในวันต่อไปก็ได้ (ทำให้สม่ำเสมอกันตลอดทั้งปี)
   12.30 - 15.30 เรียน
   15.30 - 17.00 เดินทางกลับบ้าน,หากใช้เวลาน้อยกว่านี้ เวลาที่เหลือบางวันเช่นวันศุกร์ ควรเล่นกีฬาหนักประมาณ 15 - 30 นาที กีฬาที่ควรเล่นเช่น ฟุตบอล,บาสเก็ตบอล,ตะกร้อ,เนตบอลวอลเลย์บอล ปิงปอง,ห่วงยาง ฯลฯ เพื่อเป็นการ ออกกำลังกายหนัก แต่ไม่ควรเล่นมากหรือบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้สมองล้ากลับถึงบ้านไม่อยากทบทวน บทเรียน
   17.00 - 17.30 ช่วยงานบ้าน
   17.30 - 18.30 กิจประจำวัน อาบน้ำ,รับประทานอาหาร
   18.30 - 19.30 ทำการบ้าน ดูข่าวสาร เหตุการณ์บ้านเมืองประจำวัน
   19.30 - 21.00 อ่านทบทวนบทเรียน,โน้ตย่อบทเรียน
   21.00 - 06.00 นอนหลับพักผ่อน
นักเรียนสามารถปรับตารางเวลาและกิจกรรมให้เข้ากับชีวิตประจำวันที่ทำอยู่ ถ้าต้องการให้ประสบผลสำเร็จควรทำสม่ำเสมอ

   © การทำการบ้าน 
การทำการบ้านนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากของการเรียนเพราะถือเป็นการทบทวนบทเรียนที่มีระยะเวลาค้นคว้าทำความเข้าใจกว่าเวลาในห้องเรียน มีหลักที่ควรยึดดังนี้
   1. จัดเวลาทำการบ้าน ควรจะเป็นระยะเวลา 18.00 - 21.00 น.กับครึ่งวันเช้าหรือบ่ายของวันหยุด ควรทำอย่างสม่ำเสมอจนติดเป็นนิสัย ถ้าวันใดไม่มีการบ้าน ต้องทบทวนบทเรียนแทน
   2. ตรวจดูความยากง่าย เมื่อได้รับคำสั่งจากครู อาจารย์ให้ทำการบ้าน แบบฝึกหัดใดหรือบทใด ตรวจดูอย่างคร่าวๆว่าพอทำได้หรือไม่ หากมีที่สงสัยควรถาม ครู,อาจารย์ก่อน
   3. รีบทำการบ้านอย่าทิ้งไว้นาน เมื่อได้รับการบ้านวันใดให้รีบทำให้เสร็จในวันนั้น ถึงแม้กำหนดส่งการบ้านจะเหลืออีกหลายวันยกเว้นจะได้รับการบ้านหลายวิชา จึงค่อยทำวิชาที่ต้องส่งก่อนเป็นอันดับแรก หากทำการบ้านตามเวลาที่กำหนดไว้ไม่ทันต้องทำในเวลาทบทวนบทเรียน
  4. ตรวจดูความถูกต้องก่อนส่งครู

   © การทบทวนบทเรียน 
การทบทวนบทเรียนนับเป็นกระบวนการที่สำคัญมากต่อการเรียนเพราะเป็นการเสริมความเข้าใจ และช่วยจำให้แม่นยำยิ่งขึ้นควรทำดังนี้
   1.จัดเวลา ควรต่อจากการทำการบ้าน และพักกลางวันหลังจากรับประทานอาหารแล้ว หรือเวลาอื่นๆ เช่นก่อนครูเข้าสอน ,ชั่วโมงว่าง
   2. โน้ตย่อใจความสำคัญของบทเรียน การโน้ตย่อนอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับดูก่อนสอบแล้วยังเป็นการทบทวนไปในตัวด้วย       เพราะการจะย่อใจความสำคัญ ได้ต้องอ่านและต้องเขียนด้วยซึ่งทำให้จำได้แม่นยำกว่า การอ่านอย่างเดียว
   3. สำหรับวิชาคำนวณ ควรย่อเฉพาะ กฎ,ทฎษฎี ,นิยาม สูตร และหมั่นทำแบบฝึกหัดที่เรียนไปแล้วเป็นการทบทวนสูตรไปด้วย
   4. อ่านโน้ตย่อทุกเวลาที่ว่างพอจะอ่านได้ เช่นเวลาเช้าเมื่อมาถึงโรงเรียนแล้วยังไม่ถึงเวลาเรียน เวลาพักกลางวัน

    © ชั่วโมงว่าง 
ห้องสมุดกับการเรียนเก่ง
ห้องสมุดนับเป็นแหล่งการความรู้ที่ใกล้ตัวนักเรียนที่สุด ตำรามากที่สุดเท่าที่นักเรียนจะหาอ่านได้ และข้อสำคัญไม่ต้องเสียเงิน และที่สำคัญเป็นการฝึกการใช้ ห้องสมุด ซึ่งนักเรียนจะต้องใช้มากในระดับการเรียนที่สูงขึ้น
   1. นักเรียนจะอ่านอะไรในห้องสมุด การเข้าห้องสมุดทุกครั้งนักเรียนควรมีเป้าหมายว่าจะเข้าไปทำไมหรือไปอ่านหนังสืออะไร เช่น
       - ค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำงานส่งครู - อาจารย์
       - หาความรู้เพิ่มเติมจากบทเรียน
       - อ่านข่าวความรู้จากหนังสือพิมพ์
       - เลือกอ่านหนังสือที่ให้เพลิดเพลินเพื่อยืมไปอ่านที่บ้าน
    2. อ่านหนังสือห้องสมุดอย่างไรได้ประโยชน์ที่สุด
       2.1 กรณีค้นคว้าทำรายงานส่งครู - อาจารย์ ควรทำในห้องสมุด ไม่ควรยืมหนังสือไปทำบ้านเพราะอาจยืมหนังสือไปไม่ครบ             ถ้าทำในห้องสมุดสงสัยเรื่องใด ค้นคว้าได้ทันที
       2.2 การอ่านเพื่อความรู้ประกอบบทเรียน ควรมีการจดหรือย่อลงสมุดพก ซึ่งนักเรียนควรมี เป็นเล่มเล็กๆติดตัว
       2.3 การอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน เพราะจะได้แง่คิดข้อเท็จริงเปรียบเทียบได้
    3. การอ่านหนังสืออ่านเล่นมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไรในที่นี้หมายถึง นวนิยาย, เรื่องสั้น,สาระบันเทิง,ขำขัน
        การอ่านเรื่องอ่านเล่นนี้นอกจากจะเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ที่เคร่งเครียดกับการเรียนและเป็นการให้ความเพลิดเพลินแล้ว         ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงาน ในอนาคต เพราะการได้อ่านมากถึงแม้จะเป็นเรื่องอ่านเล่นก็ตาม จะทำให้นักเรียนอ่านหนังสือคล่อง         ได้เห็นแบบสำนวนมากทำให้ง่ายต่อการเขียนรายงาน จดหมายโต้ตอบ บันทึกต่างๆซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องประสบในขณะที่เข้าทำงาน
    4. ฝึกนิสัยรักการอ่านได้อย่างไร นักเรียนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ พูดอีกอย่างว่าไม่มีนิสัยรักการอ่าน         แต่นักเรียนก็รู้ว่าการอ่านมีประโยชน์ เมื่อเป็นดังนี้เรามาฝึกการอ่านกันดีกว่า ขอแนะนำดังนี้
        4.1 ขั้นแรกอ่านข่าวที่น่าสนใจ ถ้าไม่ชอบการอ่านเอามากๆก็อ่านแค่พาดหัวข่าวก็ได้
        4.2 ดูภาพที่สนใจ ซึ่งส่วนใหญ่มักมีคำบรรยายประกอบ ซึ่งต้องอ่านประกอบความเข้าใจ
        4.3 อ่านเรื่องราวที่ชอบ เช่น เกี่ยวกับฟุตบอล,มวย,เย็บปักถักร้อย
        4.4 ทดลองอ่านนิทาน ,เรื่องสั้น,ที่ดีดีโดยอาจขอคำแนะนำจากบรรณารักษ์
       ถ้าปฎิบัติได้ตามข้างต้นอย่างน้อยก็ต้องพบเรื่องที่ชอบบ้าง และจะค่อยทำให้รักการอ่านภายหลัง แต่ถ้ายังไม่เกิดผลอะไรเลย           ก็คงต้องหาวิธีอื่นต่อไป, หรืออาจเกี่ยวกับเรื่องวัย,ภาวะของครอบครัวฯ